วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การอนุรักษ์วัฒนธรรม


  การอนุรักษ์วัฒนธรรม

วัฒนธรรมเป็นคำที่มีความหมายรวมกันของพฤติกรรมของคนในสังคมอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นวิถีชีวิตของสังคมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ วัฒนธรรม เกิดจากความรู้ ความคิด ภูมิปัญญา ความเชื่อที่สั่งสมมายาวนานและยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม รวมทั้งได้รับการยอมรับยึดถือปฏิบัติสืบต่อกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วอย่างขาดเหตุผล มิได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถของสังคมในเรื่องที่เกี่ยวข้องย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ดังนั้นความเข้าใจ รู้คุณค่าและความเป็นมาของวัฒนธรรมของตนย่อมจะทำให้สามารถพิจารณาความเหมาะสมที่จะดำรงรักษา หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของตนโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางสังคมที่รุนแรงเกินไป
เป้าหมายของการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารก็เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าไม่ละเลยหลงลืมวัฒนธรรมที่ดีงามและความเป็นไทย เกิดความภาคภูมิใจและรักท้องถิ่นของตน ดังที่มีพระราชดำรัสไว้ว่า
“...นอกจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพราะเป็นสิ่งที่
เป็นรากฐานชีวิตของนักเรียนทุกคน เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรดีบ้าง ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
มีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีคุณค่าที่เป็นความคิดของมนุษย์ เป็นจิตวิญญาณของบุคคล
ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์พร้อมๆ กับงานพัฒนาชุมชน...” 
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
2. 
วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
3. 
วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น
4. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น
5. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ
เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย
บทสรุปชีวิตและวัฒนธรรม
เราต้องยอมรับว่า คนเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นผู้ทำลาย สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่เชื้อชาติ ต้องมีแนววิถีชีวิตที่ต้องดำเนินตามลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ในประเทศไทยของเราก็เช่นกัน มีวิถีดำเนินชีวิตเป็นแบบแผน มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ตนเอง จึงเป็นรูปแบบเอกลักณ์ของตนเอง ด้านวัฒนธรรมไทย เช่นเรื่องภาษาไทย ศิลปะต่าง ๆ แสดงถึงความเป็นไทย สถาปัตยกรรม เช่น พระพุทธรูป สิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง การดนตรีไทย ธนบธรรมเนียมประเพณีไทย
เราในฐานะคนรุ่นหลัง ควรอนุรักษ์และเก็นไว้ให้ดี สิ่งเหล่านี้คือเป็นมรดกของคุณ จากรุ่นสู่อีกรุ่นหนึ่ง


วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การสืบค้นข้อมูล

การสืบค้นข้อมูล
การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง
        http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/animation-computer-004.gifการค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine
การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine
Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap01.jpg
    ประเภทของ Search Engine
1. Keyword Index
2. Subject Directories
3. Metasearch Engines
               Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง  การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่เว็บ
      http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap02.jpg
Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป
     http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap03.jpg
Metasearch Engines จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จากจะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหาข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo
แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap04.jpg  
      


       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/animation-computer-004.gifการสืบค้นข้อมูลภาพ
ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้
1. เปิดเว็บ www.google.co.th
2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ
3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ เสือ)
4. คลิกปุ่ม ค้นหา
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap08.jpg 
5. ภาพทีค้นหาพบ
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap23.jpg
6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as
 http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap10.jpg
6. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in
7. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name
8. คลิกปุ่ม Save
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/images/Snap10.jpg


บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา                                                 
 อาจกล่าวได้ว่า “อินเทอร์เน็ต” เป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลกในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) ของยุคสมัยประกอบด้วย
• ความที่อินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)ที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวกโดย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
• ความที่อินเทอร์เน็ตเป็น “เครือข่ายแห่งเครือข่าย” (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
• จุดดึงดูดของอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web (WWW) ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่ายพอๆ กับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator URL) และ Search Engines ต่างๆ
• การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และความแม่นยำ
• การแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น
• เทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
• พัฒนาการทางเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตยังก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การใช้ Internet Phone,การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
• อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในรูปแบบของ “วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Commerce) พร้อมๆ กับเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ** ที่จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ในวงการศึกษา
• รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (HyperText Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อม ที่อาจมีผลทางจิตวิทยา ให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้นๆ ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต
จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ กล่าวโดยรวมแล้วสาระสำคัญของบทบาทอินเทอร์เน็ตต่อภาคการศึกษามี ประเด็นดังต่อไปนี้
เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายหรืออีกนัยหนึ่งมี “ห้องสมุดโลก” (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส
ดังตัวอย่างรูปธรรมต่อไปนี้
 •ครู และนักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (Anywhere & Anytime) โดยครู อาจารย์อาจจะเตรียมการสอนได้สมบูรณ์ขึ้น ในขณะที่นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกและหลากหลายมากขึ้น
• คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดี สามารถก้าวกระโดดในการหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่าง เท่าเทียมมากยิ่งขึ้น จะมีโอกาสใดในประวัติศาสตร์ การเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่อง สงครามอ่าวเปอร์เซีย จากโปรแกรม CNN Newsroom (http://www.nmis.org/NewsInteractive/CNN/Newsroom) หรือข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมของ US-EPAจาก Library of Congress ของรัฐสภาอเมริกา (http://www.lcweb.loc.gov) เป็นต้น
เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลพันธุ์พืชของสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงเรียน ข้อมูลศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน กับเด็กทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ฯลฯ ลงใน Web เพื่อแลกเปลี่ยนภายในวงการครู เป็นต้น
 เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน
ด้วยนัยของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้จะทำให้บทบาทของ ครูปรับเปลี่ยนไปจากการ เน้นความเป็น “ผู้สอน” มาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ “เชิงรุก” มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูล ในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้ เด็กนักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าบทบาทและรูปแบบ ที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ “ชี้แนะ” ให้รัดกุมเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น จากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) และการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง
พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน
ผลสืบเนื่องจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายในการใช้ทำให้เกิดการสื่อสาร (communications) เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนกันเอง ทั้งนี้โดยมิได้ลดทอนการสื่อสารในรูปแบบเดิม ปัจจุบันคณาจารย์หลายท่านในหลายสถาบันในประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง ในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักเรียนสามาร
ช่วยส่งเสริมการทำงาน กลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนชาวต่างประเทศ ที่มีโอกาสมากขึ้นเป็นลำดับ

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
ความหมาย คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลซึ่งผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนยังสถาบันการศึกษา และสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ “การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดน” คือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) จึง หมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต (Internet) และการสอนเสริม เป็นต้น รวมทั้งการใช้ศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาหาความรู้ได้
การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
 ความสำคัญของการศึกษาทางไกล
1. เป็นการเพิ่มทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงกระบวนวิธีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดอุปสรรคด้านทรัพยากร สถานที่ เวลา และบุคลากร
4. ช่วยลดภาระของครูทั้งในด้านการเตรียมการ การใช้เวลา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ
5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ “แพร่กระจาย” และ “เข้าถึง” ตัวบุคคลได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง

องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดิทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดิทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือเรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น
 ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อผู้เรียน
     อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับความรู้ใหม่ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน เกิดทักษะความคิดขั้นสูงและเป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรวมถึงเป็นการฝึกให้เกิดทักษะการเขียนด้วยเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้

     1.1 การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในสังคมผู้สอนจะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเอง การสอนให้ผู้เรียนยึดแต่วัฒนธรรมแบบเดิมจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้เป็นคนที่ไม่สามารถทำงานร่วมเป็นกลุ่มได้ ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต คือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนคนอื่นที่มีภูมิหลังต่างจากตนเอง การสื่อสารทางไกลทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและความเคารพในวัฒนธรรมต่างแดนมากขึ้น

     1.2 เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง การเรียนในโรงเรียนจะได้ประโยชน์อย่างมากเมื่อได้จัดกิจกรรมให้สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูล อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบเดิม แล้วพบว่าการสื่อสารทางไกลเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น 

     1.3 การเพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบ ผู้เรียนที่ใช้การสื่อสารทางไกลจะมีทักษะการคิดแบบสืบสวนสอบสวนและทักษะการคิดอย่างมีระบบ เพราะลักษณะของการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผู้เรียนต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในการเลือกรับข้อมูลและได้สื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญ

     1.4 สร้างแรงจูงใจให้มีทักษะในการเขียน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การใช้การ-สื่อสารทางไกลจะมีความสามารถในการเขียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเขียนและเพิ่มแรงจูงใจให้มีการเขียนและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนผู้ร่วมอภิปราย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อผู้สอน 
     เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้สอนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษา การวิจัย การวางแผนการสอนและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเช่นกัน คุณค่าของการเปิดรับข้อมูลทำให้ได้รับรู้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย สามารถนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียนและผู้สอน

     2.1 การสอนแบบร่วมมือ (collaborative) ทำให้ผู้สอนมีความสามารถเพิ่มขึ้นเมื่อใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือผ่านเครือข่าย เช่น การออกแบบให้มีสภาพและการประชุมระหว่างผู้สอนเพื่ออภิปรายประเด็นอันหลากหลาย เช่น การบริหารโรงเรียนการประเมิน แนวทางการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น อินเทอร์เน็ตยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อของผู้สอนอีกด้วย 

     2.2 กลยุทธ์การสอนที่หลากหลาย เมื่อมีการสื่อสารทางไกลทำให้การสอนเปลี่ยนทิศทาง การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการช่วยเพิ่มเวลาที่ผู้เรียน ทำให้ติดต่อสื่อสารกับผู้สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ลดเวลาในการจดคำบรรยายในชั้นเรียนและทำให้ผู้เรียนมีเวลาทำรายงานมากขึ้น

     2.3 พัฒนาหลักสูตร เมื่อการสื่อสารทางไกลด้วยอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลกับหลักสูตร ทำให้ประเด็นในการเรียนการสอนสอดคล้องกับสภาพของสังคมมากขึ้น ยกระดับของทักษะ ความคิดในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้จากการเรียนด้วยการใช้สื่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแตกต่างจากสิ่งที่สอนในห้องเรียน เพราะ เป็นวิธีการที่นำไปสู่โครงการที่เขียนจากความร่วมมือของทุกฝ่าย อินเทอร์เน็ตทำให้ได้ข้อสรุปจากหน่วยงาน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพนอกจากการสอนแบบเดิมผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้ข้อมูลจากสารานุกรม หนังสือ เอกสารงานวิจัย และโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาจากอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ที่มีต่อผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อ 
     ทำให้ได้พบกับแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ดีกว่า ประหยัดเวลากว่าและพบผลงานที่แตกต่างจากในท้องถิ่นของตนเอง

     3.1 แหล่งข้อมูลความรู้ การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ได้พบกับแหล่งข้อมูล เช่น นิตยสาร วารสาร ฐานข้อมูล ผลการวิจัย การสำรวจความคิดเห็น ภาพกราฟิก เสียง ภาพยนตร์และซอฟต์แวร์ เหมือนกับย่อโลกทั้งใบมาไว้ในจอคอมพิวเตอร์

     3.2 ข้อมูลที่ทันสมัย ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเหมาะกับการศึกษา ความสามารถในการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้รับข้อมูลแบบปฐมภูมิได้คำตอบครบประเด็นกับปัญหาที่ถาม และการได้รับทราบความคิดเห็นจากแหล่งอื่นอีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงเอกสารไปยังห้องสมุดหรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

     3.3 เครื่องมือสอนให้ผู้เรียนมีทักษะ อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการศึกษาวิจัย ผู้เรียนสามารถตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์และทำรายงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะมีระบบและเครื่องมือในการสืบค้นมากมายและทำให้ผลที่จัดทำขึ้นมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจำนวนมาก

     3.4 การพบปะกับสมาชิก พบว่าเหตุผลอันดับหนึ่งสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่อการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ความสะดวก ประหยัดเวลา ความเป็นหมวดหมู่ สามารถสื่อสารกับสมาชิกอื่น ๆ ทั่วโลกโดยเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และช่วยลดความรู้สึกว่าทำงานอยู่คนเดียวในโรงเรียน

ประโยชน์ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ 
     ในระดับของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน การใช้อินเทอร์เน็ตช่วยลดความซับซ้อน การจัดเตรียมและเอกสาร เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่งในการรับและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับและส่งข้อมูลภายนอกองค์กร

     4.1 การจัดการเอกสาร การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารเป็นการประหยัดงบประมาณ ลดการใช้กระดาษ มีความรวดเร็วมีประสิทธิผลและเป็นการบันทึกข้อมูล รวมถึงยังช่วยลดความผิดพลาดในการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
4.2 การสื่อสารภายนอกองค์กร การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลที่ทันสมัยทันทีจากที่ประชุมทางการศึกษา การวิจัย และจากผู้สอน การติดต่อกับธุรกิจเอกชนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการสื่อสาร  
     การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแนวทางที่ดีที่ทำให้การสื่อสารระหว่างโรงเรียน กองทุนสนับสนุนการศึกษา โครงการเพื่อการศึกษา องค์กรพิเศษอื่น ๆ และอาสาสมัคร ในการเชื่อมโยงไปถึงผู้นำธุรกิจในท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่สามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้
5.1 การสื่อสารกับโรงเรียน การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ปกครองมีโอกาสเป็นผู้ช่วยกำหนดการบ้านของบุตรหลาน และยังได้ร่วมประชุมกับครูหรือผู้ปกครองคนอื่นด้วย 
5.2 กิจกรรมการสื่อสารของผู้เรียน การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้สูงอายุและผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียน ผู้เรียนจำนวนมากได้รับคำแนะนำ คำอบรมสั่งสอนที่มีค่าจากผู้สูงอายุผ่านทางอินเทอร์เน็ต


                        

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สารสนเทศ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สําหรับ 
แก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หลักการทํางานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการใช้คอมพิวเตอร์สําหรับการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ต้องเข้าใจหลักการทํางานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงต้องรู้จักส่วนประกอบสําคัญของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทํางานตามชุดคําสั่งหรือโปรแกรมตามที่มนุษย์เป็นผู้กําหนด 

หลักการทํางานของคอมพิวเตอร
1. มีการรับข้อมูลคําสั่งเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านหน่วยรับข้อมูล/คําสั่ง 
 2. ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อทําการประมวลผลตามคําสั่งที่ตั้งไว้ 
 3. ในขณะที่ทําการประมวลผลหน่วยความจําหลักจะทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่างๆ ในการ  ประมวลผล 
 4. เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว ผลลัพธ์จะถูกเก็บที่หน่วยความจําสํารอง 
 5. หน่วยแสดงผลทําหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล 

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (computer hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้น
เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ ส่วนประกอบ
ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์มีดังนี้ 
1.หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่รับข้อมูล/คําสั่ง เข้าไปยังเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่นําเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง ภาพ มัลติมีเดีย 
อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ประกอบด้วย 
1.1 อุปกรณ์รับคําสั่งจากผู้ใช้ เพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทํางาน ได้แก่ เมาส์ (mouse) 
คีย์บอร์ด (keyboard) ที่พบได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แพดสัมผัสของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 
(touch pad) จอภาพแบบสัมผัส (touch screen) ซึ่งปัจจุบันพบเห็นได้ทั่วไปในคอมพิวเตอร์แบบ 
แท็บเล็ต ตัวอย่างอุปกรณ์รับคําสั่ง 
1.2 อุปกรณ์ที่นําเข้าข้อมูลจากภายนอกเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลภาพ 
ข้อมูลเสียงและข้อมูลวีดิทัศน์ ซึ่งอุปกรณ์นําเข้าข้อมูลเหล่านี้อาจจะต้องทําการจัดซื้อเพิ่มเติม ได้แก่ 
ไมโครโฟน กล้องถ่ายรูปดิจิทัล สแกนเนอร์และกล้องบันทึกวิดีโอ เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องทําการเชื่อมต่อ
อุปกรณ์เหล่านี้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นทําการโอนย้ายข้อมูลเข้ามาเพื่อนําไปใช้งานต่อไป 
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูลภายนอกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
1.3 อุปกรณ์นําเข้าข้อมูลที่ทําให้คอมพิวเตอร์รับรู้และแยกแยะความแตกต่างระหว่าง 
อักขระและรูปแบบ (recognition device) เช่น เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (barcode reader) และ 
อุปกรณ์พวก optical mark recognition (OMR) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านจุดที่ทําการมาร์ค เช่น เครื่อง 
ตรวจข้อสอบ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทําให้คอมพิวเตอร์รับรู้และแยกแยะความแตกต่างระหว่างอักขระและ 
รูปแบบ 
2.หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit: CPU) เปรียบเสมือนสมอง 
ของคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่เป็นศนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบการทํางานต่างๆ ของ
คอมพิวเตอร์ เพื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทุกอย่างทํางานสอดคล้องสัมพันธ์กัน 
ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง มีดังนี้ 
2.1 หน่วยควบคุม (control unit) ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์ทุกๆ 
อุปกรณ์ ในหน่วยประมวลผลกลาง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่นํามาต่อพ่วงเพื่อควบคุมการทํางาน 
ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ แปลคําสั่งที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลทํา
การรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทําการประมวลผล ควบคุมให้หน่วยคํานวณและตรรกะทําการคํานวณข้อมูลที่
รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ 
2.2 หน่วยคํานวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit: ALU) ทําหน้าที่ คํานวณ
ทางคณิตศาสตร์ (arithmetic operations) และการคํานวณทางตรรกศาสตร์ (logical operations) 
โดยปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการคํานวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ และหาร สําหรับการคํานวณทาง
ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรีอเท็จโดยมีเงื่อนไข มากกว่า น้อย กว่า หรีอ 
เท่ากับ 
2.3 หน่วยความจําหลัก (main memory Unit) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจํา มี ชื่อ
เรียกต่างกันออกไป เช่น main memory unit, primary storage unit และ internal storage unit 
หน่วยความจําหลักทําหน้าที่เก็บข้อมูลและคําสั่งที่ใช้ในการประมวลผลในครั้งหนึ่งๆ เท่านั้น ซึ่งข้อมูล
และคําสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุม หน่วยความจําหลักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
2.3.1 รอม (read only memory: ROM) เป็นหน่วยความจําสําหรับเก็บคําสั่ง 
(program memory) ที่ใช้บ่อยๆ เช่น คําสั่งเริ่มต้นการทํางานของคอมพิวเตอร์ โดยคําสั่งนี้จะอยู่ 
ภายในคอมพิวเตอร์ตลอดไปแม้ว่าจะทําการปิดเครื่องก็ตาม หน่วยความจําประเภทนี้จะมีการ 
เปลี่ยนแปลงของข้อมูลน้อยมาก เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบ (start up) ข้อมลควบคุมการ 
รับส่งคําสั่ง/ข้อมูล ตลอดจนการแสดงผล เป็นต้น 
2.3.2 แรม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจําสําหรับเก็บข้อมูล
และคําสั่ง (data & programming memory) จากหน่วยรับข้อมูล ข้อมูลและคําสั่งเหล่านั้นจะหายไป
เมื่อมีการรับข้อมูล/คําสั่งใหม่ หรีอในกรณีที่กระแสไฟฟ้าขัดข้องหรีอปิดเครื่อง หน่วยความจําแรมเป็น

3.หน่วยความจํา
หน่วยความจําที่สําคัญของคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีความเร็วในการประมวลผลสูงและ
หน่วยความจําแรมมีความจุสูง ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลให้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยความจําของคอมพิวเตอร์ (memory unit) คือ ส่วนที่ใข้เก็บข้อมูล/คําสั่ง สามารถ 
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
3.1 หน่วยความจําหลัก (main memory unit) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล
กลาง ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น 
3.2 หน่วยความจําสํารอง (secondary memory unit) เป็นหน่วยความจําที่ใช้เก็บ 
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลมาแล้ว และหลังจากที่ได้ทําการบันทึกข้อมูลลงใน 
หน่วยความจําสํารองถึงแม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลก็ยังคงอยู่ หน่วยความจําสํารองมีหลายชนิด 
ประกอบด้วย ฮาร์ดดิสก์ ซีดี ดีวีดี หน่วยความจําแบบพกพา (handy drive, thumb drive, memory 
card ) เป็นต้น 
4.หน่วยแสดงผล
หน่วยแสดงผล (output unit) ทําหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจําซึ่งผ่านการ
ประมวลผลแล้วมาแสดงในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล ดังนี้ 
4.1 จอภาพ (monitor) จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ใช้ตลอดเวลาเมื่อมีการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการเลือกใช้จอภาพจึงมีความจําเป็นมากที่ผู้ใช้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ 
ของงานที่ทํา จอภาพสําหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มีดังนี้ 
4.1.1 จอแอลซีดี (liquid crystal display: LCD) เป็นจอภาพที่มีภาพเกิดจากแสง ที่
ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนแบบเย็นด้านหลังของจอภาพ (black light) ผ่านชั้นกรอง
แสงแล้ววิ่งไปยังคริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนี้าเงิน 
กลายเป็นจุดสีหรีอพิกเซล (pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น 
4.1.2 จอแอลอีดี (light emitting diod : LED) เป็นจอภาพที่ใช้เทคนิคการเกิดภาพ
เช่นเดียวกับจอแอลซีดี แต่มีการใช้หลอดแอลอีดีมาแทนหลอดฟลูออเรสเซน ทําให้ภาพมีความคมชัด
มากยิ่งขึ้น 
ราคาของจอแอลอีดีจะขึ้นกับความละเอียดของภาพที่ปรากฏขึ้นที่จอภาพ จอภาพที่ 
มีความละเอียดของภาพสูงราคาของจอภาพก็จะสูงตาม ความละเอียดของจอแอลอีดีที่พบเห็นใน 
ปัจจุบัน มีดังนี้ 
 1) จอแอลอีดีแบบเอชดี (high definition LED หรีอ HD LED) เป็นจอภาพ 
แอลอีดีที่มีความละเอียดของภาพ ที่ 1366 X 768 พิเซล 
 2) จอแอลอีดีแบบฟลูเอชดี ( full HD LED) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดของ
ภาพสูงถึง 1920X 1080 พิกเซล 
4.2 ลําโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลที่เป็นเสียง 
4.3 เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่จําเป็นที่ต้องหาซื้อเพิ่มเติม ถ้าต้องการ 
พิมพ์งานจากเอกสารต่างๆ เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ดังน
4.3.1 เครื่องพิมพ์แบบดอตเมตทริกซ์ (dot matrix printer) เครื่องพิมพ์ 
ชนิดนี้ มีการทํางานคล้ายๆ เครื่องพิมพ์ดีด หัวพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) มีแบบ 9 pin และ 24 
pin เมื่อ มีการสั่งพิมพ์งานหัวเข้มจะกระทบผ่านผ้าพิมพ์ ทําให้เกิดตัวอักษรบนกระดาษ เครื่องพิมพ์
ชนิดนี้ เหมาะสําหรับงานที่ต้องทําลําเนาหลายฉบับ และนิยมใช้กับกระดาษแบบต่อเนื่อง 
 4.3.2 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (ink jet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มึหัว
พ่นหมึก ทําหน้าที่พ่นหมึกออกจากตลับหมึก ซึ่งประกอบด้วยสีดําและแม่สีทั้ง 3 คือ สีแดง สีเหลือง 
และ สีน้ําเงิน ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกนิยมประยุกต์ใช้ให้เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทําหน้าที่ได้หลาย
อย่าง (multifunction) นั่นคือ มึความสามารถในการพิมพ์งาน ถ่ายเอกสาร สแกนภาพ และรับ-ส่ง
แพ็ก 
 4.3.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ หลักการ ทํางานเช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารโดยการยิงเลเซอร์เพื่อให้เกิดตัวอักษรบนกระดาษ งานพิมพ์จากเครื่องเลเซอร์จะมีคุณภาพสูง เครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในสํานักงานที่มึเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) เพื่อให้มึการใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน (share printer) เพื่อความประหยัดและรวดเร็วในการทํางาน 
5.หน่วยติดต่อสื่อสาร
หน่วยติดต่อสื่อสาร (communication unit) มีความสําคัญอย่างมากกับการใช้งาน 
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยติดต่อสื่อสารทําให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ 
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รวมถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต หน่วยติดต่อสื่อสารในเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ แบ่งได้ดังนี้ 
5.1 หน่วยติดต่อสื่อสารที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ 
ประกอบด้วย 
5.1.1พอร์ตยูเอสบี (universal serial bus: USB) เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่ทําให้ 
คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รวมถึงหน่วยความจําภายนอกได้ พอร์ต 
ยูเอสบี เป็นพอร์ตพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะต้องมีในปัจจุบันการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตยูเอสบี 
 5.1.2 พอร์ตวีจีเอ (video graphics array VGA) เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อกับ 
จอภาพหรือเครื่องโปรเจคเตอร์ เพื่อแสดงข้อมลภาพและเสียงใช้ในการนําเสนองาน 
5.1.3 พอร์ตเอชดีเอ็มไอ (high definition multimedia interface: HDMI) เป็น 
พอร์ตการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องเสียงหรือทีวีที่มีพอร์ตเอชดีเอ็มไอ โดยสัญญาณที่
ส่งผ่านพอร์ตเอชดีเอ็มไอจะเป็นข้อมูลภาพและเสียงที่มีความละเอียดสูง 
5.1.4 บลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ 
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ผ่านคลื่นวิทยุ (radio) ระยะสั้นในระยะไม่เกิน 33 ฟุต ซึ่งการส่งสัญญาณสามารถ 
ส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ เช่น การส่งผ่านข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ 
ทั้งสองต้องเปิดสัญญาณบลูทูธพร้อมกัน จากนั้นทําการค้นหาอุปกรณ์ เมื่ออุปกรณ์ทั้งสองติดต่อกันได้ก็
สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ 
5.2 หน่วยติดต่อสื่อสารที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต 
การสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการดําเนินชีวิตในปัจจุบัน
ทั้งในส่วนของการเรียนและการทํางาน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันแทบทุกเครื่องจะมีการติดตั้ง 
อุปกรณ์สําหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 
มากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 
 5.2.1 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบใช้สายสัญญาณ ประกอบไปด้วย 
1) การ์ดเน็ตเวิร์ค (network adapter card) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแลน 
การ์ด เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ทําให้สามารถ 
สื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือในองค์กรเดียวกันได้ สามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ 
ร่วมกัน สามารถไช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกัน 
2) โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ
สื่อสารข้อมูลได้โดยผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มทําหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้
เป็นสัญญาณอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องบริการข้อมูลปลายทางที่ทําหน้าที่เปรียบเสมือน
ประตูที่ทําให้สามารถท่องไปยังระบบอินเทอร์เน็ตได้ 
5.2.2 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย
การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคปัจจุบันเน้นการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
แบบพกพามากขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจึงจําเป็นอย่างมาก 
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ประกอบด้วย 
1) การเชื่อมต่อตามมาตรรูาน 802.11 Wi-Fi เป็นการเชื่อมต่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สายผ่านแอคเซสพ้อยส์ (access point) หรือจุด
ปล่อยสัญญาณ การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตแบบวายฟายนี้เป็นที่นิยมใช้งานอย่างมากตาม 
หน่วยงานสถานศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้บริการการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย 
ให้กับสมาชิกขององค์กร 
2) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (mobile broadband) การ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
ความเร็วสูง เช่น โครงข่าย 3G ทําให้ความเร็วในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งการส่งและการรับข้อมูล
ทําได้เร็วมากขึ้น โดยในการเข้าใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตผู้ใช้ต้องมีซิมการ์ดของบริษัทที่ให้บริการ
เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วสูง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพานั้นไม่มีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อ สามารถใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า แอร์การ์ด (air card) เพื่อการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได
ซึ่งปัจจุบันราคาของแอร์การ์ดไม่สูงมากนัก โดยทําการใส่ชิมการ์ดเข้าไปในแอร์การ์ด เสียบ
แอร์การ์ดที่พอร์ตยูเอสบี ทําการติดตั้งโปรแกรมซึ่งส่วนมากจะติดตั้งอัตโนมัติเมื่อมีการเชื่อมต่อแอร์
การ์ดกับคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได

เทคโนโลยีการสื่อสาร
ป้จจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม 
อาทิเช่น ระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันตามอาคารบ้านพักอาศัย 
รวมไปถึงสํานักงานต่างๆ มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย โดยถูก 
นํามาใช้ในชีวิตประจําวัน จนกลายเป็นสิ่งจําเป็นมากขึ้น เช่น การเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การ 
ค้นคว้าข้อมูล การซื้อขายสินค้า รวมถึงความบันเทิง เป็นต้น ซึ่งสามารถกระทําได้สะดวกและรวดเร็ว 
โดยระบบอินเทอร์เน็ตนั้นมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล หรือเรียกว่า "ระบบ 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์" 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารหรือการ เชื่อมต่อกันระหว่างระบบ
คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้น ผ่านลื่อกลางในการติดต่อสื่อสารหรือการ เชื่อมต่อได้ทั้งสื่อกลางแบบมี
สายหรือสื่อกลางแบบไม่มีสายก็ได้ อาทิเช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน
1. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล 
การสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประสบความสําเร็จหรือไม่ 
ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วระบบการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วย 5 ส่วน
สําคัญดังนี้ 
 1.1 ข้อมูล (Data) คือสื่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ 
อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะผ่านสื่อกลางอาจจะเป็น
แบบมีสายและแบบไม่มีสายก็ได้ เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้ 
 1.2 ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกําเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นํามาใช้ 
สําหรับส่งข่าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น 
 1.3 ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรือ 
อุปกรณ์ที่นํามาใช้สําหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เข่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทร
 1.4 สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนําเอาข้อมูลข่าวสาร
จากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล ซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ลําเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง 
โดยปัจจุบันสื่อกลางมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบมีสาย เช่น สายคู่บิตเกลียว สายใยแก้วน่าแสง และแบบ 
ไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น 
 1.5 โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ร่วมกัน ระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสําเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับ
สารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่ กรณีที่ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารผิดพลาดจะถือได้ว่าการ
สื่อสารนั้นลมเหลว เช่น คนไทยต้องการสื่อสารกับคนลาว โดยต่างคนต่างพูดภาษาของตนเองรับรองว่า 
ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างแน่นอน จําเป็นต้องมีภาษากลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ในที่นี้ให้เป็น 
ภาษาอังกฤษ ทั้งคนไทยและคนลาวก็ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกันก็จะสื่อสารกันเข้าใจ โพรโตคอล 
ในที่นี้คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
2. องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 
 2.1 คอมพิวเตอร์ คือ ระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป 
โดยคอมพิวเตอร์จะเป็นรุ่นไหน ยี่ห้อไหนก็ใช้งานได้ 
 2.2 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card: NIC) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับ 
ช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ปัจจุบันการ์ดนี้ 
ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์มาให้แล้ว 
 2.3 สื่อกลางและอุปกรณ์สําหรับการรับส่งข้อมูล (Physical Media) คือ ช่องทางใน
การสื่อสารข้อมูลเป็นได้ทางแบบมีสายและแบบไม่มีสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น และ 
อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น อับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น 
 2.4 โพรโตคอล (Protocol) คือมาตรฐานหรือข้อตกลงที่ตั้งขึ้นเพื่อทําให้ผู้ที่จะสื่อสาร
กันเข้าใจกัน หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น กรณีที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์จะ 
เชื่อมต่อผ่านโพรโตคอล TCP/IP เป็นต้น 
 2.5 ระบบปฏิบัติเครือข่าย (Network Operating System: NOS) คือชุดโปรแกรมที่
เป็น ตัวช่วยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใข้แต่ละคน หรือเป็นตัวกลางในการควบคุมการใช้ 
ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย เข่น Windows server 2008, Unix และ Linux เป็นต้น 
3. ประโยซน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายหลายประการด้วยกัน 
 3.1 ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมต่อระบบ 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
 3.2 ด้านการลดค่าใช้จ่าย คือ เมื่อมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทรัพยากร 
ร่วมกันได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายลง 
 3.3 ด้านความสะดวกในด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่งผลให้
การติดต่อเพื่อดําเนินธุรกรรมใด ๆ บรรลุผลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 3.4 ด้านความน่าเชื่อถือของระบบงาน เนื่องจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีการจัดเก็บไว้
หลายที่โดยมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการสิทธิการใช้งานของผู้ใช้และมีระบบ 
ป้องกันความปลอดภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ 
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
เพื่อความเช้าใจมากยิ่งขึ้นจําเป็นต้องทําความเช้าใจถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเรา 
สามารถจําแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกได้หลายประเภท ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ 
สําหรับการจําแนกประเภท อาทิเข่น แบ่งตามขนาดพื้นที่การให้บริการ แบ่งตามลักษณะการไหลของ 
ข้อมูล และแบ่งตามลักษณะหน้าที่การทํางานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยขอยกตัวอย่างเป็น 
สังเขปดังน
1. แบ่งตามขนาดพื้นที่ให้บริการ 
หรือเรียกอีกอย่างว่าการแบ่งตามขนาดทางกายภาพ โดยสิ่งที่ต้องคํานึงถึงสําหรับการแบ่ง 
ตามขนาดพื้นที่การให้บริการคือ ความเร็วในการติดต่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน จะมีลักษณะ 
คล้ายกับการทํางานของมนุษย์เราคือ เมื่อยู่ใกล้ก็จะติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและมีข้อผิดพลาด 
น้อย ซึ่งจะแตกต่างกับการอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลกันทําให้การติดต่อสื่อสารกันทําได้ช้าลงและโอกาส 
ความผิดพลาดก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย โดยหากเราใช้ขนาดพื้นที่การให้บริการ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 
ดังนี้ 
1.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN) 
หรือเรียกว่าเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งและใช้งานและมีพื้นที่ 
ให้บริการครอบคลุมระยะใกล้ มักใช้ภายในห้องสํานักงาน ภายในตัวอาคาร หรือระหว่างอาคารที่อยู่ 
บริเวณใกล้เคียงกัน เป็นเครือข่ายที่เป็นพื้นฐานสําหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป ตัวอย่าง
เทคโนโลยีที่ใช้สําหรับเครือข่ายเฉพาะที่ ได้แก่ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) โทเคนริง (Token Ring) สําหรับ
กรณีระบบไร้สายได้แก่ Wi-Fi (IEEE 802.11) 
 1.2 เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN) 
หรือเรืยกว่าเครือข่ายในพื้นที่เมือง เป็นเครือข่ายที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมอาณา 
บริเวณกว้างกว่าเครือข่ายท้องถิ่น และจะต้องใช้เครือข่ายสาธารณะเช้ามาตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร 
เข่น โครงข่ายขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่ติดตั้งและใช้บริการ 
สําหรับติดต่อสื่อสารกันในระดับจังหวัด หรือระหว่างสาขาของสํานักงานที่อยู่คนละพื้นที่กัน โดยเป็น 
การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นที่อยู่คนละพื้นที่เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้สําหรับ 
เครือข่ายระดับเมือง ได้แก่ FDDI เมโทอีเธอร์เน็ต (Metro-ethernet) สําหรับกรณีระบบไร้สายได้แก่ 
1.3 เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN) 
หรือเรืยกว่าเครือข่ายพื้นที่กว้าง เป็นเครือข่ายที่มืพื้นที่ให้บริการครอบคลุมอาณา 
บริเวณที่ห่างไกลกันมากกว้างกว่าเครือข่ายระดับเมือง ใช้เป็นเครือข่ายสําหรับติดต่อสื่อสารกันใน 
ระดับประเทศ ระดับทวีป และต้องใช้เครือข่ายสาธารณะเช้ามาเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ 
โครงข่ายขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เข่น คู่สายโทรศัพท์ Dial-Up line/ 
คู่สายเข่า Leased line/ISDN/ADSL สามารถส่งได้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพในเวลาเดียวกัน เป็นต้น ซึ่ง 
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับท้องถิ่น และระดับเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบ 
อินเทอร์เน็ต
2. แบ่งตามลักษณะการไหลของข้อมูล 
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ตามลักษณะการไหลของข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทคือ 
 2.1 เครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network) 
เป็นเครือข่ายที่มีโครงสร้างง่ายที่สุด โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะติดต่อสื่อสารกับผ่าน
จุดรวมศูนย์เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการติดตั้งฐานข้อมูลหลักที่สาขาใหญ่ โดยมีคอมพิวเตอร์ที่
สถานีปลายทางกระจายอยู่ทั่วประเทศ เข่น ระบบ Automatic Teller Machine (ATM) ของธนาคาร 
ระบบควบคุมสินค้า เป็นต้น 
 2.2 เครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network) 
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายแบบกระจายจะสามารถส่งข้อมูลไปยัง
คอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ได้ในเครือข่าย จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบเครือข่ายได้ 
3. แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทํางานของคอมพิวเตอร์ 
ใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือลักษณะหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
เป็นเกณฑ์ 
 3.1 ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)
หรือเรียกว่าระบบเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่
ไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสําคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย 
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร (Peer) นั้นเอง 
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทําหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่าย
ประเภทนี้ไม่จําเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ 
3.2 ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Server Network) 
กรณีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีจํานวนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น การดูแลและ 
จัดการกับระบบจะทําได้ยากขึ้น ซึ่งจะไม่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจาก 
เครือข่ายจําเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทําหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นควร
เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัน และใน 
ขณะเดียวกันก็ต้องทําหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้ด้วย 
เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า เป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่าย
ในปัจจุบันแล้ว ข้อดี คือ สามารถแชร์ข้อมูลเครื่องพิมพ์ของแต่ละเครื่องได้ มีระบบ Security ที่ดี และ
สามารถจัดสรรแบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้ดี 
ระบบเครือข่ายไร้สาย
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) เป็นเทคโนโลยีที่มีผู้ให้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
           4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
           6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ