วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การอนุรักษ์วัฒนธรรม


  การอนุรักษ์วัฒนธรรม

วัฒนธรรมเป็นคำที่มีความหมายรวมกันของพฤติกรรมของคนในสังคมอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นเฉพาะตัว เป็นวิถีชีวิตของสังคมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ วัฒนธรรม เกิดจากความรู้ ความคิด ภูมิปัญญา ความเชื่อที่สั่งสมมายาวนานและยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม รวมทั้งได้รับการยอมรับยึดถือปฏิบัติสืบต่อกัน มีความสัมพันธ์ต่อกัน ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วอย่างขาดเหตุผล มิได้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถของสังคมในเรื่องที่เกี่ยวข้องย่อมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ดังนั้นความเข้าใจ รู้คุณค่าและความเป็นมาของวัฒนธรรมของตนย่อมจะทำให้สามารถพิจารณาความเหมาะสมที่จะดำรงรักษา หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของตนโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางสังคมที่รุนแรงเกินไป
เป้าหมายของการอนุรักษ์วัฒนธรรม
ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารก็เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าไม่ละเลยหลงลืมวัฒนธรรมที่ดีงามและความเป็นไทย เกิดความภาคภูมิใจและรักท้องถิ่นของตน ดังที่มีพระราชดำรัสไว้ว่า
“...นอกจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังสอนให้อนุรักษ์วัฒนธรรมเพราะเป็นสิ่งที่
เป็นรากฐานชีวิตของนักเรียนทุกคน เมื่อรู้ว่าท้องถิ่นของตนมีอะไรดีบ้าง ก็จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
มีการบันทึกสิ่งที่เป็นของมีคุณค่าที่เป็นความคิดของมนุษย์ เป็นจิตวิญญาณของบุคคล
ให้ร่วมกันทำงานอนุรักษ์พร้อมๆ กับงานพัฒนาชุมชน...” 
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
2. 
วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
3. 
วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น
4. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น
5. 
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ
เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย
บทสรุปชีวิตและวัฒนธรรม
เราต้องยอมรับว่า คนเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นผู้ทำลาย สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่เชื้อชาติ ต้องมีแนววิถีชีวิตที่ต้องดำเนินตามลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ในประเทศไทยของเราก็เช่นกัน มีวิถีดำเนินชีวิตเป็นแบบแผน มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ตนเอง จึงเป็นรูปแบบเอกลักณ์ของตนเอง ด้านวัฒนธรรมไทย เช่นเรื่องภาษาไทย ศิลปะต่าง ๆ แสดงถึงความเป็นไทย สถาปัตยกรรม เช่น พระพุทธรูป สิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง การดนตรีไทย ธนบธรรมเนียมประเพณีไทย
เราในฐานะคนรุ่นหลัง ควรอนุรักษ์และเก็นไว้ให้ดี สิ่งเหล่านี้คือเป็นมรดกของคุณ จากรุ่นสู่อีกรุ่นหนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น