วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สารสนเทศ

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สําหรับ 
แก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หลักการทํางานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการใช้คอมพิวเตอร์สําหรับการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ต้องเข้าใจหลักการทํางานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงต้องรู้จักส่วนประกอบสําคัญของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทํางานตามชุดคําสั่งหรือโปรแกรมตามที่มนุษย์เป็นผู้กําหนด 

หลักการทํางานของคอมพิวเตอร
1. มีการรับข้อมูลคําสั่งเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านหน่วยรับข้อมูล/คําสั่ง 
 2. ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อทําการประมวลผลตามคําสั่งที่ตั้งไว้ 
 3. ในขณะที่ทําการประมวลผลหน่วยความจําหลักจะทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่างๆ ในการ  ประมวลผล 
 4. เมื่อประมวลผลเสร็จแล้ว ผลลัพธ์จะถูกเก็บที่หน่วยความจําสํารอง 
 5. หน่วยแสดงผลทําหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล 

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ 
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (computer hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้น
เป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ ส่วนประกอบ
ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์มีดังนี้ 
1.หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่รับข้อมูล/คําสั่ง เข้าไปยังเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่นําเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง ภาพ มัลติมีเดีย 
อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ประกอบด้วย 
1.1 อุปกรณ์รับคําสั่งจากผู้ใช้ เพื่อสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทํางาน ได้แก่ เมาส์ (mouse) 
คีย์บอร์ด (keyboard) ที่พบได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ แพดสัมผัสของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 
(touch pad) จอภาพแบบสัมผัส (touch screen) ซึ่งปัจจุบันพบเห็นได้ทั่วไปในคอมพิวเตอร์แบบ 
แท็บเล็ต ตัวอย่างอุปกรณ์รับคําสั่ง 
1.2 อุปกรณ์ที่นําเข้าข้อมูลจากภายนอกเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลภาพ 
ข้อมูลเสียงและข้อมูลวีดิทัศน์ ซึ่งอุปกรณ์นําเข้าข้อมูลเหล่านี้อาจจะต้องทําการจัดซื้อเพิ่มเติม ได้แก่ 
ไมโครโฟน กล้องถ่ายรูปดิจิทัล สแกนเนอร์และกล้องบันทึกวิดีโอ เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องทําการเชื่อมต่อ
อุปกรณ์เหล่านี้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นทําการโอนย้ายข้อมูลเข้ามาเพื่อนําไปใช้งานต่อไป 
อุปกรณ์นําเข้าข้อมูลภายนอกมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ 
1.3 อุปกรณ์นําเข้าข้อมูลที่ทําให้คอมพิวเตอร์รับรู้และแยกแยะความแตกต่างระหว่าง 
อักขระและรูปแบบ (recognition device) เช่น เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (barcode reader) และ 
อุปกรณ์พวก optical mark recognition (OMR) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อ่านจุดที่ทําการมาร์ค เช่น เครื่อง 
ตรวจข้อสอบ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทําให้คอมพิวเตอร์รับรู้และแยกแยะความแตกต่างระหว่างอักขระและ 
รูปแบบ 
2.หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit: CPU) เปรียบเสมือนสมอง 
ของคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่เป็นศนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบการทํางานต่างๆ ของ
คอมพิวเตอร์ เพื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทุกอย่างทํางานสอดคล้องสัมพันธ์กัน 
ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง มีดังนี้ 
2.1 หน่วยควบคุม (control unit) ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์ทุกๆ 
อุปกรณ์ ในหน่วยประมวลผลกลาง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่นํามาต่อพ่วงเพื่อควบคุมการทํางาน 
ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ แปลคําสั่งที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลทํา
การรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทําการประมวลผล ควบคุมให้หน่วยคํานวณและตรรกะทําการคํานวณข้อมูลที่
รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ 
2.2 หน่วยคํานวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit: ALU) ทําหน้าที่ คํานวณ
ทางคณิตศาสตร์ (arithmetic operations) และการคํานวณทางตรรกศาสตร์ (logical operations) 
โดยปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการคํานวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ และหาร สําหรับการคํานวณทาง
ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรีอเท็จโดยมีเงื่อนไข มากกว่า น้อย กว่า หรีอ 
เท่ากับ 
2.3 หน่วยความจําหลัก (main memory Unit) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจํา มี ชื่อ
เรียกต่างกันออกไป เช่น main memory unit, primary storage unit และ internal storage unit 
หน่วยความจําหลักทําหน้าที่เก็บข้อมูลและคําสั่งที่ใช้ในการประมวลผลในครั้งหนึ่งๆ เท่านั้น ซึ่งข้อมูล
และคําสั่งจะถูกส่งมาจากหน่วยควบคุม หน่วยความจําหลักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
2.3.1 รอม (read only memory: ROM) เป็นหน่วยความจําสําหรับเก็บคําสั่ง 
(program memory) ที่ใช้บ่อยๆ เช่น คําสั่งเริ่มต้นการทํางานของคอมพิวเตอร์ โดยคําสั่งนี้จะอยู่ 
ภายในคอมพิวเตอร์ตลอดไปแม้ว่าจะทําการปิดเครื่องก็ตาม หน่วยความจําประเภทนี้จะมีการ 
เปลี่ยนแปลงของข้อมูลน้อยมาก เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการเริ่มต้นระบบ (start up) ข้อมลควบคุมการ 
รับส่งคําสั่ง/ข้อมูล ตลอดจนการแสดงผล เป็นต้น 
2.3.2 แรม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจําสําหรับเก็บข้อมูล
และคําสั่ง (data & programming memory) จากหน่วยรับข้อมูล ข้อมูลและคําสั่งเหล่านั้นจะหายไป
เมื่อมีการรับข้อมูล/คําสั่งใหม่ หรีอในกรณีที่กระแสไฟฟ้าขัดข้องหรีอปิดเครื่อง หน่วยความจําแรมเป็น

3.หน่วยความจํา
หน่วยความจําที่สําคัญของคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีความเร็วในการประมวลผลสูงและ
หน่วยความจําแรมมีความจุสูง ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลให้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยความจําของคอมพิวเตอร์ (memory unit) คือ ส่วนที่ใข้เก็บข้อมูล/คําสั่ง สามารถ 
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
3.1 หน่วยความจําหลัก (main memory unit) เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล
กลาง ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น 
3.2 หน่วยความจําสํารอง (secondary memory unit) เป็นหน่วยความจําที่ใช้เก็บ 
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลมาแล้ว และหลังจากที่ได้ทําการบันทึกข้อมูลลงใน 
หน่วยความจําสํารองถึงแม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลก็ยังคงอยู่ หน่วยความจําสํารองมีหลายชนิด 
ประกอบด้วย ฮาร์ดดิสก์ ซีดี ดีวีดี หน่วยความจําแบบพกพา (handy drive, thumb drive, memory 
card ) เป็นต้น 
4.หน่วยแสดงผล
หน่วยแสดงผล (output unit) ทําหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจําซึ่งผ่านการ
ประมวลผลแล้วมาแสดงในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล ดังนี้ 
4.1 จอภาพ (monitor) จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ใช้ตลอดเวลาเมื่อมีการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ ดังนั้นการเลือกใช้จอภาพจึงมีความจําเป็นมากที่ผู้ใช้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ 
ของงานที่ทํา จอภาพสําหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มีดังนี้ 
4.1.1 จอแอลซีดี (liquid crystal display: LCD) เป็นจอภาพที่มีภาพเกิดจากแสง ที่
ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนแบบเย็นด้านหลังของจอภาพ (black light) ผ่านชั้นกรอง
แสงแล้ววิ่งไปยังคริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนี้าเงิน 
กลายเป็นจุดสีหรีอพิกเซล (pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น 
4.1.2 จอแอลอีดี (light emitting diod : LED) เป็นจอภาพที่ใช้เทคนิคการเกิดภาพ
เช่นเดียวกับจอแอลซีดี แต่มีการใช้หลอดแอลอีดีมาแทนหลอดฟลูออเรสเซน ทําให้ภาพมีความคมชัด
มากยิ่งขึ้น 
ราคาของจอแอลอีดีจะขึ้นกับความละเอียดของภาพที่ปรากฏขึ้นที่จอภาพ จอภาพที่ 
มีความละเอียดของภาพสูงราคาของจอภาพก็จะสูงตาม ความละเอียดของจอแอลอีดีที่พบเห็นใน 
ปัจจุบัน มีดังนี้ 
 1) จอแอลอีดีแบบเอชดี (high definition LED หรีอ HD LED) เป็นจอภาพ 
แอลอีดีที่มีความละเอียดของภาพ ที่ 1366 X 768 พิเซล 
 2) จอแอลอีดีแบบฟลูเอชดี ( full HD LED) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดของ
ภาพสูงถึง 1920X 1080 พิกเซล 
4.2 ลําโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลที่เป็นเสียง 
4.3 เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่จําเป็นที่ต้องหาซื้อเพิ่มเติม ถ้าต้องการ 
พิมพ์งานจากเอกสารต่างๆ เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ดังน
4.3.1 เครื่องพิมพ์แบบดอตเมตทริกซ์ (dot matrix printer) เครื่องพิมพ์ 
ชนิดนี้ มีการทํางานคล้ายๆ เครื่องพิมพ์ดีด หัวพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) มีแบบ 9 pin และ 24 
pin เมื่อ มีการสั่งพิมพ์งานหัวเข้มจะกระทบผ่านผ้าพิมพ์ ทําให้เกิดตัวอักษรบนกระดาษ เครื่องพิมพ์
ชนิดนี้ เหมาะสําหรับงานที่ต้องทําลําเนาหลายฉบับ และนิยมใช้กับกระดาษแบบต่อเนื่อง 
 4.3.2 เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (ink jet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มึหัว
พ่นหมึก ทําหน้าที่พ่นหมึกออกจากตลับหมึก ซึ่งประกอบด้วยสีดําและแม่สีทั้ง 3 คือ สีแดง สีเหลือง 
และ สีน้ําเงิน ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกนิยมประยุกต์ใช้ให้เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทําหน้าที่ได้หลาย
อย่าง (multifunction) นั่นคือ มึความสามารถในการพิมพ์งาน ถ่ายเอกสาร สแกนภาพ และรับ-ส่ง
แพ็ก 
 4.3.3 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้ หลักการ ทํางานเช่นเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารโดยการยิงเลเซอร์เพื่อให้เกิดตัวอักษรบนกระดาษ งานพิมพ์จากเครื่องเลเซอร์จะมีคุณภาพสูง เครื่องพิมพ์ชนิดนี้เหมาะที่จะใช้ในสํานักงานที่มึเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) เพื่อให้มึการใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน (share printer) เพื่อความประหยัดและรวดเร็วในการทํางาน 
5.หน่วยติดต่อสื่อสาร
หน่วยติดต่อสื่อสาร (communication unit) มีความสําคัญอย่างมากกับการใช้งาน 
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากหน่วยติดต่อสื่อสารทําให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ 
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รวมถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต หน่วยติดต่อสื่อสารในเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ แบ่งได้ดังนี้ 
5.1 หน่วยติดต่อสื่อสารที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ 
ประกอบด้วย 
5.1.1พอร์ตยูเอสบี (universal serial bus: USB) เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่ทําให้ 
คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ รวมถึงหน่วยความจําภายนอกได้ พอร์ต 
ยูเอสบี เป็นพอร์ตพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะต้องมีในปัจจุบันการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตยูเอสบี 
 5.1.2 พอร์ตวีจีเอ (video graphics array VGA) เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อกับ 
จอภาพหรือเครื่องโปรเจคเตอร์ เพื่อแสดงข้อมลภาพและเสียงใช้ในการนําเสนองาน 
5.1.3 พอร์ตเอชดีเอ็มไอ (high definition multimedia interface: HDMI) เป็น 
พอร์ตการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องเสียงหรือทีวีที่มีพอร์ตเอชดีเอ็มไอ โดยสัญญาณที่
ส่งผ่านพอร์ตเอชดีเอ็มไอจะเป็นข้อมูลภาพและเสียงที่มีความละเอียดสูง 
5.1.4 บลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ 
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ผ่านคลื่นวิทยุ (radio) ระยะสั้นในระยะไม่เกิน 33 ฟุต ซึ่งการส่งสัญญาณสามารถ 
ส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ เช่น การส่งผ่านข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ 
ทั้งสองต้องเปิดสัญญาณบลูทูธพร้อมกัน จากนั้นทําการค้นหาอุปกรณ์ เมื่ออุปกรณ์ทั้งสองติดต่อกันได้ก็
สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ 
5.2 หน่วยติดต่อสื่อสารที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต 
การสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการดําเนินชีวิตในปัจจุบัน
ทั้งในส่วนของการเรียนและการทํางาน เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันแทบทุกเครื่องจะมีการติดตั้ง 
อุปกรณ์สําหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 
มากยิ่งขึ้น อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 
 5.2.1 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบใช้สายสัญญาณ ประกอบไปด้วย 
1) การ์ดเน็ตเวิร์ค (network adapter card) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแลน 
การ์ด เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายท้องถิ่น ทําให้สามารถ 
สื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือในองค์กรเดียวกันได้ สามารถใช้งานเครื่องพิมพ์ 
ร่วมกัน สามารถไช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกัน 
2) โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ
สื่อสารข้อมูลได้โดยผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มทําหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้
เป็นสัญญาณอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องบริการข้อมูลปลายทางที่ทําหน้าที่เปรียบเสมือน
ประตูที่ทําให้สามารถท่องไปยังระบบอินเทอร์เน็ตได้ 
5.2.2 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย
การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคปัจจุบันเน้นการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
แบบพกพามากขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจึงจําเป็นอย่างมาก 
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ประกอบด้วย 
1) การเชื่อมต่อตามมาตรรูาน 802.11 Wi-Fi เป็นการเชื่อมต่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สายผ่านแอคเซสพ้อยส์ (access point) หรือจุด
ปล่อยสัญญาณ การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตแบบวายฟายนี้เป็นที่นิยมใช้งานอย่างมากตาม 
หน่วยงานสถานศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้บริการการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย 
ให้กับสมาชิกขององค์กร 
2) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (mobile broadband) การ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
ความเร็วสูง เช่น โครงข่าย 3G ทําให้ความเร็วในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งการส่งและการรับข้อมูล
ทําได้เร็วมากขึ้น โดยในการเข้าใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตผู้ใช้ต้องมีซิมการ์ดของบริษัทที่ให้บริการ
เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วสูง ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพานั้นไม่มีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อ สามารถใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า แอร์การ์ด (air card) เพื่อการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได
ซึ่งปัจจุบันราคาของแอร์การ์ดไม่สูงมากนัก โดยทําการใส่ชิมการ์ดเข้าไปในแอร์การ์ด เสียบ
แอร์การ์ดที่พอร์ตยูเอสบี ทําการติดตั้งโปรแกรมซึ่งส่วนมากจะติดตั้งอัตโนมัติเมื่อมีการเชื่อมต่อแอร์
การ์ดกับคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได

เทคโนโลยีการสื่อสาร
ป้จจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิม 
อาทิเช่น ระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยเราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันตามอาคารบ้านพักอาศัย 
รวมไปถึงสํานักงานต่างๆ มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย โดยถูก 
นํามาใช้ในชีวิตประจําวัน จนกลายเป็นสิ่งจําเป็นมากขึ้น เช่น การเก็บข้อมูล การติดต่อสื่อสาร การ 
ค้นคว้าข้อมูล การซื้อขายสินค้า รวมถึงความบันเทิง เป็นต้น ซึ่งสามารถกระทําได้สะดวกและรวดเร็ว 
โดยระบบอินเทอร์เน็ตนั้นมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล หรือเรียกว่า "ระบบ 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์" 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การติดต่อสื่อสารหรือการ เชื่อมต่อกันระหว่างระบบ
คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้น ผ่านลื่อกลางในการติดต่อสื่อสารหรือการ เชื่อมต่อได้ทั้งสื่อกลางแบบมี
สายหรือสื่อกลางแบบไม่มีสายก็ได้ อาทิเช่น สายเคเบิล หรือผ่านคลื่นวิทยุ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน
1. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล 
การสื่อสารข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะประสบความสําเร็จหรือไม่ 
ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วระบบการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วย 5 ส่วน
สําคัญดังนี้ 
 1.1 ข้อมูล (Data) คือสื่งที่เราต้องการส่งไปยังปลายทาง เช่น ข่าวสารหรือสารสนเทศ 
อาจเป็นข้อความ ภาพ วิดีโอ หรือสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะผ่านสื่อกลางอาจจะเป็น
แบบมีสายและแบบไม่มีสายก็ได้ เมื่อไปถึงปลายทางผู้รับจะต้องสามารถเข้าใจข่าวสารนั้นได้ 
 1.2 ฝ่ายส่งข้อมูล (Sender) คือ แหล่งกําเนิดข่าวสาร (Source) หรืออุปกรณ์ที่นํามาใช้ 
สําหรับส่งข่าวสาร ตัวอย่างอุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เร้าท์เตอร์ เป็นต้น 
 1.3 ฝ่ายรับข้อมูล (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของข่าวสาร (Destination) หรือ 
อุปกรณ์ที่นํามาใช้สําหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากฝ่ายส่งข้อมูล เข่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทร
 1.4 สื่อกลางส่งข้อมูล (Media) คือ ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่จะนําเอาข้อมูลข่าวสาร
จากฝ่ายส่งข้อมูลไปยังฝ่ายรับข้อมูล ซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ลําเลียงข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง 
โดยปัจจุบันสื่อกลางมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบมีสาย เช่น สายคู่บิตเกลียว สายใยแก้วน่าแสง และแบบ 
ไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น 
 1.5 โพรโตคอล (Protocol) คือ มาตรฐานหรือข้อตกลงที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ร่วมกัน ระหว่างฝ่ายผู้ส่งกับฝ่ายผู้รับ นั้นก็คือการสื่อสารจะประสบความสําเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้รับ
สารได้เข้าใจสารตรงตามที่ผู้ส่งต้องการหรือไม่ กรณีที่ผู้รับสารเข้าใจข่าวสารผิดพลาดจะถือได้ว่าการ
สื่อสารนั้นลมเหลว เช่น คนไทยต้องการสื่อสารกับคนลาว โดยต่างคนต่างพูดภาษาของตนเองรับรองว่า 
ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างแน่นอน จําเป็นต้องมีภาษากลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ในที่นี้ให้เป็น 
ภาษาอังกฤษ ทั้งคนไทยและคนลาวก็ใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารกันก็จะสื่อสารกันเข้าใจ โพรโตคอล 
ในที่นี้คือภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
2. องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 
 2.1 คอมพิวเตอร์ คือ ระบบเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป 
โดยคอมพิวเตอร์จะเป็นรุ่นไหน ยี่ห้อไหนก็ใช้งานได้ 
 2.2 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card: NIC) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับ 
ช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ปัจจุบันการ์ดนี้ 
ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์มาให้แล้ว 
 2.3 สื่อกลางและอุปกรณ์สําหรับการรับส่งข้อมูล (Physical Media) คือ ช่องทางใน
การสื่อสารข้อมูลเป็นได้ทางแบบมีสายและแบบไม่มีสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น และ 
อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น อับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น 
 2.4 โพรโตคอล (Protocol) คือมาตรฐานหรือข้อตกลงที่ตั้งขึ้นเพื่อทําให้ผู้ที่จะสื่อสาร
กันเข้าใจกัน หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น กรณีที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์จะ 
เชื่อมต่อผ่านโพรโตคอล TCP/IP เป็นต้น 
 2.5 ระบบปฏิบัติเครือข่าย (Network Operating System: NOS) คือชุดโปรแกรมที่
เป็น ตัวช่วยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใข้แต่ละคน หรือเป็นตัวกลางในการควบคุมการใช้ 
ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย เข่น Windows server 2008, Unix และ Linux เป็นต้น 
3. ประโยซน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ มากมายหลายประการด้วยกัน 
 3.1 ด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมต่อระบบ 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
 3.2 ด้านการลดค่าใช้จ่าย คือ เมื่อมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ทรัพยากร 
ร่วมกันได้ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายลง 
 3.3 ด้านความสะดวกในด้านการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารส่งผลให้
การติดต่อเพื่อดําเนินธุรกรรมใด ๆ บรรลุผลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
 3.4 ด้านความน่าเชื่อถือของระบบงาน เนื่องจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีการจัดเก็บไว้
หลายที่โดยมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการสิทธิการใช้งานของผู้ใช้และมีระบบ 
ป้องกันความปลอดภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ 
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
เพื่อความเช้าใจมากยิ่งขึ้นจําเป็นต้องทําความเช้าใจถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเรา 
สามารถจําแนกประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกได้หลายประเภท ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ 
สําหรับการจําแนกประเภท อาทิเข่น แบ่งตามขนาดพื้นที่การให้บริการ แบ่งตามลักษณะการไหลของ 
ข้อมูล และแบ่งตามลักษณะหน้าที่การทํางานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยขอยกตัวอย่างเป็น 
สังเขปดังน
1. แบ่งตามขนาดพื้นที่ให้บริการ 
หรือเรียกอีกอย่างว่าการแบ่งตามขนาดทางกายภาพ โดยสิ่งที่ต้องคํานึงถึงสําหรับการแบ่ง 
ตามขนาดพื้นที่การให้บริการคือ ความเร็วในการติดต่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน จะมีลักษณะ 
คล้ายกับการทํางานของมนุษย์เราคือ เมื่อยู่ใกล้ก็จะติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและมีข้อผิดพลาด 
น้อย ซึ่งจะแตกต่างกับการอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลกันทําให้การติดต่อสื่อสารกันทําได้ช้าลงและโอกาส 
ความผิดพลาดก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย โดยหากเราใช้ขนาดพื้นที่การให้บริการ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 
ดังนี้ 
1.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN) 
หรือเรียกว่าเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งและใช้งานและมีพื้นที่ 
ให้บริการครอบคลุมระยะใกล้ มักใช้ภายในห้องสํานักงาน ภายในตัวอาคาร หรือระหว่างอาคารที่อยู่ 
บริเวณใกล้เคียงกัน เป็นเครือข่ายที่เป็นพื้นฐานสําหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป ตัวอย่าง
เทคโนโลยีที่ใช้สําหรับเครือข่ายเฉพาะที่ ได้แก่ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) โทเคนริง (Token Ring) สําหรับ
กรณีระบบไร้สายได้แก่ Wi-Fi (IEEE 802.11) 
 1.2 เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN) 
หรือเรืยกว่าเครือข่ายในพื้นที่เมือง เป็นเครือข่ายที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมอาณา 
บริเวณกว้างกว่าเครือข่ายท้องถิ่น และจะต้องใช้เครือข่ายสาธารณะเช้ามาตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร 
เข่น โครงข่ายขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่ติดตั้งและใช้บริการ 
สําหรับติดต่อสื่อสารกันในระดับจังหวัด หรือระหว่างสาขาของสํานักงานที่อยู่คนละพื้นที่กัน โดยเป็น 
การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นที่อยู่คนละพื้นที่เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้สําหรับ 
เครือข่ายระดับเมือง ได้แก่ FDDI เมโทอีเธอร์เน็ต (Metro-ethernet) สําหรับกรณีระบบไร้สายได้แก่ 
1.3 เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN) 
หรือเรืยกว่าเครือข่ายพื้นที่กว้าง เป็นเครือข่ายที่มืพื้นที่ให้บริการครอบคลุมอาณา 
บริเวณที่ห่างไกลกันมากกว้างกว่าเครือข่ายระดับเมือง ใช้เป็นเครือข่ายสําหรับติดต่อสื่อสารกันใน 
ระดับประเทศ ระดับทวีป และต้องใช้เครือข่ายสาธารณะเช้ามาเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ 
โครงข่ายขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เข่น คู่สายโทรศัพท์ Dial-Up line/ 
คู่สายเข่า Leased line/ISDN/ADSL สามารถส่งได้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพในเวลาเดียวกัน เป็นต้น ซึ่ง 
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับท้องถิ่น และระดับเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบ 
อินเทอร์เน็ต
2. แบ่งตามลักษณะการไหลของข้อมูล 
 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ตามลักษณะการไหลของข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทคือ 
 2.1 เครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network) 
เป็นเครือข่ายที่มีโครงสร้างง่ายที่สุด โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะติดต่อสื่อสารกับผ่าน
จุดรวมศูนย์เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการติดตั้งฐานข้อมูลหลักที่สาขาใหญ่ โดยมีคอมพิวเตอร์ที่
สถานีปลายทางกระจายอยู่ทั่วประเทศ เข่น ระบบ Automatic Teller Machine (ATM) ของธนาคาร 
ระบบควบคุมสินค้า เป็นต้น 
 2.2 เครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network) 
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายแบบกระจายจะสามารถส่งข้อมูลไปยัง
คอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ได้ในเครือข่าย จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบเครือข่ายได้ 
3. แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทํางานของคอมพิวเตอร์ 
ใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือลักษณะหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
เป็นเกณฑ์ 
 3.1 ระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)
หรือเรียกว่าระบบเครือข่ายแบบเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่
ไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสําคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย 
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร (Peer) นั้นเอง 
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทําหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่าย
ประเภทนี้ไม่จําเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ 
3.2 ระบบเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client Server Network) 
กรณีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีจํานวนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น การดูแลและ 
จัดการกับระบบจะทําได้ยากขึ้น ซึ่งจะไม่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจาก 
เครือข่ายจําเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทําหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นควร
เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัน และใน 
ขณะเดียวกันก็ต้องทําหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้ด้วย 
เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่า เป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่าย
ในปัจจุบันแล้ว ข้อดี คือ สามารถแชร์ข้อมูลเครื่องพิมพ์ของแต่ละเครื่องได้ มีระบบ Security ที่ดี และ
สามารถจัดสรรแบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้ดี 
ระบบเครือข่ายไร้สาย
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN: WLAN) เป็นเทคโนโลยีที่มีผู้ให้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
           4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
           6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น